วัดพุทธปัญญา

บทความ

อิทัปปัจจยตา กับ ปฏิจจสมุปปบาท
สิ่งทั้งปวงว่า มีเหตุเป็นแดนเกิด พิจารณาว่า อะไรเป็นเหตุแห่งความเสื่อม หรือ เหตุแห่งความทุกข์ ก็ไม่พึงประกอบสิ่งนั้น ไม่พึงกระทำสิ่งนั้น พึงหลีกเลี่ยงให้ไกลจากสิ่งนั้น อ่านต่อ ...

วิญญาณ
ตามหลักพระพุทธศาสนา วิญญาณ เป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป อยู่ตลอดเวลา จึงมิได้อยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นการแน่นนอน แต่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ อายตนะภายใน ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ) ทำหน้าที่ปฏิสัมพันธ์กับอายตนะภายนอก ( รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ ) อ่านต่อ ...
1. เรื่องของการเกิดใหม่
คุณหมอคนหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า เวลาทำงานที่โรงพยาบาล พอเพื่อนๆทราบว่าเป็นชาวพุทธก็มักจะถามว่า เชื่อเรื่องการเกิดใหม่หรือไม่ ศาสนาของคุณสอนไว้อย่างไร คุณหมอมักจะตอบเขาไปว่า ตอบยากเพราะไม่มีความรู้ทั้งทางทษฏีและปฏิบัติมากพอ อ่านต่อ ...

2. เวลาวิกาล
เมื่อวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550 ที่ผ่านมา คุณเมตตา ได้ตั้งปัญหาถามว่า ทำไมพระภิกษุสงฆ์จึงไม่ฉันอาหารค่ำ และเธอกล่าวด้วยความเกรงใจว่า สงสัยมานานแต่ยังไม่เคยถามพระสงฆ์รูปใดเลยี อ่านต่อ ...

3. ประวัติห้ามพระฉันในเวลาวิกาล
เมื่อพระสงฆ์ไปถึงบ้านนั้น จึงเลือกยืน ณ บริเวณหน้าประตูครัว ด้านหนึ่ง ขณะที่ยืนอยู่ในที่มืดนั้น พอดีฟ้าแลบแปลบปลาบขึ้นมา ลูกสาวเจ้าของบ้านหันมองไปทางแสงฟ้าแลบพอดีเห็นพระสงฆ์ยืนอยู่ ตกใจสุดขีดคิดว่าผีหลอกจึงสาดน้ำล้างจานใส่จนเปียกปอน แล้วกรีดร้องขึ้นมาว่า ผีหลอก อ่านต่อ ...

4.เลือดเย็น
เทศกาลเข้าพรรษา เป็นวันเวลาแห่งการพัฒนาตนเอง ศึกษาเรียนร ู้ตัวเอง ทำความรู้จักตัวเอง ทั้งด้านนอกด้านในกันอย่างชัดๆ ชาวพุทธ ไม่ว่าพระสงฆ์หรือฆราวาส ล้วนใช้เวลาในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ฝึกฝนตนเองเป็นพิเศษ กระบวนการฝึกฝนตนเองที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เรียกว่าไตรสิกขา ได้แก อ่านต่อ ...

5.เวทนา: ชอบ เฉย ชัง
อุบาสกขาประจำท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า ท่านอาจารย์ครับ คำว่า เวทนา ในภาษา ธรรมะหมายความว่าอย่างไรครับ ประธานลานธรรม ขยับจีวรให้เข้าที่แล้วตอบว่า คำว่า เวทนา หมายถึง อ่านต่อ ...
6.ใจกับลมหายใจ
กัลยาณมิตรบางคนแนะนำว่า การปฏิบัติธรรม ไม่ต้องทำอะไร มากหรอก แค่พิจารณาลมหายใจก็พอแล้ว บางคนแนะนำว่า แม้แต่ลมหายใจก็ไม่ต้องพิจารณา เพ่งใจอย่างเดียวก็พอ ปัญหามีอยู่ว่า คำแนะนำของใคร ถูกต้อง คำแนะนำของใครไม่ถูกต้อง อ่านต่อ ...

7.ทำบุญ
ชาวพุทธจำนวนมากเข้าใจต่อไปว่า ผลบุญจะกลายเป็นสมบัติที่จะนำไปใช้จ่ายต่อไปในโลกหน้า ผู้ที่มีความเชื่อและเข้าใจอย่างนี้ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำบุญโดยวิธีการให้ทานกันอย่างเต็มที่หรืออาจจะใช้สำนวนเจ้าสำนักบางสำนักว่า ทำบุญกันแบบสุดฤทธิ์สุดเดชก็มีอยู่มากมาย อ่านต่อ ...

8.การบวชแบบประหยัด
การนำเอาหลักธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้นั้นต้องอาศัยความกล้าหาญในการทำงานอย่างมาก ความกล้าที่จะต้องมาก่อนคือ กล้าที่จะเผิชญหน้ากับประเพณีที่ประชาชนทำกันมาอย่างเคยชิน ไม่มีใครกล้าชี้ข้อดีข้อเสียให้ชัด แต่หลวงพ่อปัญญานันทะกล้า อ่านต่อ ...

9.การมีสติ
บทธรรมบทแรกและบทธรรมบทสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตั้งแต่เยาว์วัย พระพุทธเจ้าทรงใช้ อ่านต่อ ...
10.การตั้งสติ
เวลามีปัญหา อาจจะตกใจบ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อหายตกใจแล้ว ใจจะกลับมาเป็นปกติ ก็เริ่มพิจารณาสิ่งต่างๆรอบๆตัวว่า มีปัญหาอะไร ้ อ่านต่อ ...

11.การศึกษาและภาวนา
หากพบคนที่สนใจจริงๆ ไม่จำกัดว่า เป็นชาติหรือศาสนาอะไร มีหัวใจเปิดกว้างต้องการจริงๆก็จะศึกษาเรียนรู้อย่างเต็มใจไม่ต้องฝืนใจ ศึกษาไปอย่างสนุกสนานทีเดียว แต่นานทีจะมีคนแบบนี้สักคนหนึ่ง อ่านต่อ ...
12.กิเลส
กิเลส เกิดจากการกระทบอารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เวลาเผลอสติ เมื่ออารมณ์ต่างๆซึ่งสรุปลงแล้วเหลือสามอย่างคือ น่าชัง น่ารัก เฉยๆ เข้ามากระทบแล้ว หากใจรับรู้แล้วเก็บอ่านต่อ ...
13.ความพอดี
พระพุทธเจ้าเริ่มต้นสั่งสอนธรรมเรื่องความพอดี ซึ่งหมายถึงการกระทำการพูด หรือการคิดที่สำเร็จประโยชน์ครบถว้น ตามเหตุปัจจัยที่จำเป็น อ่านต่อ ...

14.ความสงบพบได้ทุกศาสนา
ในด้านจิตใจ มนุษย์ได้ค้นคว้าความรู้ในด้านจิตใจมาเป็นเวลายาวนาน การค้นคว้าแสวงหาที่ได้คำตอบและวิธีการปฏิบัติเป็นที่ยุติแล้วเรียกว่ อ่านต่อ ...

15.งานกับความสุข
หลวงพ่อปัญญานันทะเคยกล่าวถ้อยคำสำคัญเอาไว้ว่า งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน แม้จะเป็นคำที่หลวงพ่อผู้ทรงศีล ทรงธรรม ทรงความรู้ ครบถ้วนรอบด้านเป็นผู้กล่าว แต่ก็มีคนตั้งคำถามในใจเสมอว่า การทำงาน ทั้งหนัก ทั้งเหนื่อย ทั้งเครียด จะเป็นสุขได้อย่างไร อ่านต่อ ...
16.จักรยานใจ
ได้สนทนากับท่านอาจารย์พุทธทาสด้วยเรื่อง การเจริญสมาธิ โดยกราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า จะปฏิบัติสมาธิอย่างไรถึงจะได้ผลดี อ่านต่อ ...

17.จุดยืนอุดมการณ์
ศิษย์รูปหนึ่ง ของท่านปัญญานันทะ ระบุธรรมะแนวท่านพุทธทาสภิกขุ จะไม่เรียวลงในยุคที่ศาสนา ปะปนจนแปดเปื้อน ไปด้วยไสยศาสตร์ แม้จะสิ้นผู้นำ ด้านงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เข้มแข็งอย่างท่านพุทธทาสและท่านปัญญาฯ แล้วก็ตาม อ่านต่อ ...
18.ชีวิตที่มีค่า
การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาชีววิทยา เคยทำงานเป็นอาจารย์มาหลายแห่ง เขามาพร้อมกับถือคัมภีร์ใบเบิ้ลเล่มใหญ่ อ่านข้อความบางข้อความให้ฟังแล้วเขาก็บอกว่า พระเจ้ารักท่านนะ อ่านต่อ ...
19.ดูเกิด-ดับ
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้กำหนดรู้ ความรู้สึกอย่างใกล้ชิดเกาะติดตลอดเวลาในลักษณะต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน จนสามารถแยกความรู้สึก ดีชั่ว ชอบชังได้อย่างชัดเจนแล้วตั้งสัมมาสติ เฝ้าตามดู ตามเห็น จนสัมผัสความรู้สึกเหล่านั้นอย่างช่ำชอง แล้วเลือกสรรความรู้สึก อ่านต่อ ...

20.ทะเลขี้ผึ้ง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2550 ชาววัดพุทธปัญญา ได้เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชากันอย่างสงบ ในตอนเช้า ท่านพระมหาทองรัตน์ รตนวณฺโณ ได้กรุณาบรรยายเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ให้พุทธศาสนิกชนได้ฟัง เพื่อเป็นการเสนอประเด็นที่เป็นแก่นสารในการเฉลิมฉลองวันสำคัญเช่นนี้

ที่กล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมสำคัญระดับแก่นเพราะ อ่านต่อ ...

21.ทำไมไม่ชอบเข้าวัด
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 10.00-14.00 น. พุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆได้เดินทางมาเยี่ยมวัดพุทธปัญญาตั้งแต่ทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม ตักบาตร ถวายสังฆทาน รับประทานอาหารร่วมกัน แล้วจับกลุ่มสนทนากับญาติมิตรที่สนิทชิดเชื้ออย่างอบอุ่น มีความสุข อ่านต่อ ...
22. ธรรมะในทุกอิริยาบถ

คุณหมอเทียนทองจะมาให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพอย่างเป็นกันเอง ตอบทุกปัญหา ส่วนประธานลานธรรม ก็ยังคงตอบปัญหาธรรมะตามปกติ

สัปดาห์นี้มีผู้ถามว่า จะปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันอย่างไร อ่านต่อ ...

23.ธรรมะในสวน
สวนสาธารณะแห่งนี้ มีจุดที่ร่มรื่นน่านั่งพักผ่อนอยู่หลายจุด ก็ได้เลือกจุดๆหนึ่งที่เขาเรียงหินไว้เป็นชั้นๆขึ้นไปตามไหล่เขา รอบๆบริเวณนั้นมีต้นไม้ให้ร่มเงาอย่างร่มรื่นชวนให้ผู้ที่มาเยือนสัมผัสได้ถึงความสดชื่นน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก มองๆไปช่างละม้ายคล้ายๆหินโค้งที่สนวนโมกข์เสียเหลือเกินอ่านต่อ ...

24.ธรรมะง่ายๆ
เรื่องราวที่นำมาสนทนาก็มีมากมายหลากหลาย ไม่จำกัดกรอบหรือวางขอบเขตแต่อย่างใด สถานที่สนทนาก็แสนจะสบายนั่งกันใต้ร่มไม้ คนที่ไม่โปรดปรานการนั่งพับเพียบบนพื้นจะพอใจมากเพราะมีเก้าอี้ให้นั่งทุกคน อ่านต่อ ...

25.รากฐานพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 22.00 น. จะมีงานวางศิลาธรรม อุโบสถและธรรมศาลาในหลังเดียวกัน หัวใจสำคัญของงานก็คือ การวางรากฐานพระพุทธศาสนาลงในดินแดนตะวันตก อ่านต่อ ...
26.บันทึกธรรม
การศึกษาธรรมะในชั้นสัจธรรม ผัสสะ จะเป็นแหล่งสำคัญ แห่งการเกิดหรือการไม่เกิดทุกข์ หากเฝ้าระวังจุดนี้ให้ดี ไม่เผลอสติ ความทุกข์ก็โผล่ไม่ได้ หากปล่อยเผลอไผลไป โดยไม่ระมัดระวัง ความทุกข์ จะเกิดขึ้นได้ อ่านต่อ ...

27.ปฏิบัติที่ไหนดี

อุบาสิกาท่านหนึ่ง เป็นคนใจบุญ ชอบเดินทางไปทำบุญตามวัดต่างๆมิได้ขาด ความศรัทธาของอุบาสิกาผู้นี้เป็นสากล ไม่จำกัดอยู่กับวัดไหน นิกายอะไร แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นพระสงฆ์แล้วทำบุญได้ทั้งหมด คิดแบบนี้ก็สบายใจดี ทำบุญทุกครั้งได้บุญมาแบบเต็มๆไม่มีมลทินใดๆเจือปนเลย

วันหนึ่งอุบาสิกาผู้นี้ก็เดินทางมาถึงวัดพุทธปัญญา ตั้งคำถามว่า ท่านเจ้าค่ะ จะปฏิบัติธรรมได้ที่ไหนและเมื่อไรจึงจะดี อ่านต่อ ...

28.ปัจจัยสี่
มนุษย์ทั้งหลาย ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยอาศัยปัจจัยสี่ คือ เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ในทางพระพุทธศาสนาพระสงฆ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ด้วยการอาศัยปัจจัยสี่ คือ จีวร อาหารบิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช คนที่ไม่คุ้นเคยกับวัดก็พอจะทราบว่า จีวร คือผ้าที่พระสงฆ์ห่ม อาหารบิณฑบาตร คืออาหารที่ประชาชนพากันตักบาตรถวายให้พระสงฆ์ได้ฉัน แต่คำว่าเสนาสนะและคำว่าเภสัช น่าจะไม่ค่อยทราบกันนักอ่านต่อ ...
29.พระพุทธรูป
ท่านที่เพิ่งจะมาเป็นครั้งแรกหลายท่าน เมื่อเข้าไปในอุโบสถ เห็นพระประธานองค์เล็กวางอยู่มักจะถามว่า ไม่มีพระประธานหรือ เมื่อแนะนำว่า พระประธานตั้งอยู่ที่แท่นบูชาน้อยนั่นไง ท่านผู้นั้นก็จะถามกลับมาว่า ทำไมเล็กจัง น่าจะมีพระประธานที่ใหญ่กว่านี้ อ่านต่อ ...

30.พระธรรมรักษา
สมาชิกท่านหนึ่งถามคำถามที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า หากลูกศิษย์ของท่าน มาศึกษาธรรมะกับท่านหลายๆปี วันหนึ่งเขาจากไปไม่หวนกลับมาวัดท่านอีกไปเข้าวัดอีกวัดหนึ่งท่านจะว่า อย่างไรี อ่านต่อ ...

31.พอใจในสิ่งที่มี
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สันตุฏฐี ปะระมัง ธะนัง ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ เป็นทรัพย์อันสูงสุด พระพุทธวจนะนี้ชี้ให้เห็นว่า ความพอใจ คือทรัพย์สมบัติที่สำคัญของมนุษย์ หากมนุษย์มีข้าวของ เงินทองเพชรพลอยมากมายแต่ยังไม่รู้สึกพอใจ สิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดา ยังไม่เป็นทรัพย์อันสูงสุด เพราะเมื่อความยินดี พอใจ ยังไม่เกิด ความสุขก็ยังไม่เกิด อ่านต่อ ...
32.ภาวนาแบบสาม R และสาม A
พุทธบริษัทได้หลั่งไหลกันมาวัดพุทธปัญญาเพื่อร่วมกันปลูกต้นโพธิ์จำนวนไม่ต่ำกว่า 150 คน แต่ละคนต่างปลาบปลื้มยินดีในการบำเพ็ญกุศลครั้งนี้อย่างทั่วหน้า นับว่า พุทธบริษัทมีภูมิปัญญา รู้ความเป็นมาเป็นไปของสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี อ่านต่อ ...
33. มองรอบด้าน

ตอนนี้ประธานลานธรรมจะมาอยู่ประจำวัดพุทธปัญญาชนิดไม่หนีไปไหนอีกจนกว่าจะสร้างวัด อันประกอบด้วยลานจอดรถ รั้ว ธรรมศาลาและอุโบสถพุทธปัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ ท่านผู้ใดจะสนทนากับประธานลานธรรมหรือจะร่วมกันสร้างวัดในครั้งนี้มาพบท่านประธานลานธรรมได้ตลอดเวลา อ่านต่อ ...

34.มีสติ
บทธรรมบทแรกและบทธรรมบทสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตั้งแต่เยาว์วัย พระพุทธเจ้าทรงใช้สติพิจารณาลมหายใจออกเข้า จนสงบนิ่งเป็นปฐมฌาน ณ ใต้ต้นหว้าเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพระราชบิดาและบริวารที่ได้ร่วมงานจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ ท้องนาหลวงแห่งกรุงกบิลพัสด อ่านต่อ ...

35.รู้สึก นึก คิด

ขันธ์ ห้า คือ ชีวิต ที่มีองค์ประกอบห้าประการคือ

รูป คือกาย

เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความนึกได้ สังขาร ความคิด คือ จิต

ขันธ์แบ่งเป็น นามกับรูป หรือกายกับจิต เกิดขึ้นที่ผัสสะ เมื่อ รูปกับนามทำงานร่วมกัน เป็นคราวๆไป อ่านต่อ ...

36.วันแม่
วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีชาวไทยทั้งที่อยู่ในและต่างประเทศ ต่างรำลึกว่าเป็นวันแม่ ทางราชการได้ถือเอาวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเป็นวันแม่ เป็นวันที่ประชาชนชาวไทยตั้งใจสร้างความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และมอบบุญกุศลอันเกิดจากความดีให้แก่แม่ของตนๆ อ่านต่อ ...

37.วัดพุทธปัญญา เพื่อประชาชน

กิจกรรมหลักของวัดพุทธปัญญา ยังคงปักหลักอย่างหนักแน่นอยู่ที่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทางสื่อมวลชนที่ได้เขียนบทความตีพิมพ์อยู่เป็นประจำทุกสัปดาห์คือ ไทยทาวน์ ยูเอสเอ เมืองไทยนิวส์ และสยามมีเดีย แต่ละฉบับก็ได้นำเสนอธรรมะแตกต่างออกไปคนละแนว

บทความที่ลงในไทยทาวน์ยูเอสเอ ขณะนี้ก็เป็นเรื่องประวัติของพระพุทธเจ้า อ่านต่อ ...

38.ศีลเป็นอย่างไร

คุณยายวรนาถ เป็นคนเก่าคนแก่ของวัดพุทธปัญญาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ได้มาทำบุญพร้อมหน้าทั้งลูกสาวและหลานสาว เมื่อทำวัตรเช้า ตักบาตร กรวดน้ำ รับพร รับประทานอาหารร่วมกันแล้ว จึงได้เริ่มเปิดลานธรรม ตั้งวงสนทนา คุณยาย ถามว่า หัวใจของศีลอยู่ที่ไหน

เมื่อเป็นคำถามเจาะจง ต้องการคำตองที่ชัดเจน อ่านต่อ ...

39.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของเรามีวันอะไรบ้าง และแต่ละวันควรปฏิบัติตนอย่างไร

หากจะไล่กันไปให้เป็นลำดับก็จะได้ว่า วันวิสาขบูชา เป็นวันพระพุทธเจ้า เพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในวันเช่นนี้ควรจะได้พิจารณา พระพุทธคุณให้ลึกซึ้งเป็นพิเศษ อย่างครบถ้วน อ่านต่อ ...

40.สงบ เงียบ เรียบง่าย ได้สาระ
ฝนที่ตั้งเค้ามาหลายวันก็ตกลงมาอย่างเทน้ำเทท่า ตั้งแต่เช้าตรู่จนไปถึงเวลาประมาณห้าทุ่ม จึงหยุดสนิท วันที่ฝนตกนั้นเป็นวันที่อากาศหนาวเหน็บจริงๆ ญาติโยมทางบ้านหลายคนโทรฯมาถามข่าวไม่ได้ขาดว่า วันที่ 1 ธันวาคม 2550ที่เคยนัดหมายกันว่า พวกเราจะได้ร่วมกันจัดงานรำลึกถึงหลวงพ่อปัญญานันทะ มรณภาพครบ 50 วันจะทำอย่างไร หากฝนตก แบบฟ้ารั่วอยู่อย่างนี้ อ่านต่อ ...

41.สงฆ์กับการเมือง
เรื่องพระสงฆ์กับการเมืองขึ้นมาสนทนากันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงเวลาที่มีเหตุการณ์ทางการเมืองสื่อมวลชนมักจะพยายามหาข้อมูล ความเห็นจากประชาชนอาชีพต่างๆไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์แสดงความคิดเห็นทางการเมืองออกไป คนส่วนหนึ่งมักจะผลักไสพระสงฆ์ให้ไกลออกไปจากวงการเมือง แม้แต่การรับรู้การเมืองก็ไม่ควรด้วยซ้ำไป โดยมักจะขู่ด้วยคำที่พูดกันมานานว่า มิใช่กิจสงฆอ่านต่อ ...
42.สภาเป็นที่รวมของคนดี
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อรับทราบและอภิปราย ซักถามนโยบายรัฐบาลครั้งนี้ ชี้ให้เห็นการปฏิรูปคือทำให้เหมาะสมขึ้นหรือดีขึ้นในหลายๆด้าน ลักษณะการอภิปรายแม้จะไม่ดุเด็ดเผ็ดมันดังที่คอการเมืองบางคนโปรดปราน แต่หากติดตามฟังกันให้ดีๆแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่า คำอภิปรายของแต่ละท่านเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระที่หนาแน่น ตามมุมมองของแต่ละสาขาอาชีพอ่านต่อ ...
43.หยุดโกงถวายในหลวง
ในวโรกาศสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา วันครองราชย์สมบัติครบ 60ปี และวันสำคัญอื่นๆ พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายพากันถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์ท่านด้วยการทำกิจกรรมต่างๆเช่นการลงนามถวายพระพร การติดธงทิวตามบ้านเรือน การสวมเสื้อตราสัญลักษณ์การครองราชย์สมบัติ เพื่อแสดงออกว่า ทุกคนรักเคารพและเทิดทูนพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่านต่อ ...

44.องค์ความรู้
ความรู้ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในทุกขั้นตอน จะใช้ความรู้มากหรือความรู้น้อย ก็พิจารณาเป็นเรื่องๆไป การแสวงหาความรู้ให้แก่ตัวเอง หรือการรักษาความรู้ที่ได้มาแล้วให้คงอยู่ พัฒนา เข้มแข็งใช้งานได้ดี ทำให้ความรู้มีความหมาย ต้องมีฐานความรู้ที่แน่นหนาแท้จริง อ่านต่อ ...

45. อิทธิพลของการคบหา
ฉันเคยฟังพระท่านเทศน์แล้วจำนิทานเรื่องนกแขกเต้าได้จนกระทั่งวันนี้ พอพระท่านเอ่ยถึงนกแขกเต้า เด็กๆอย่างฉันได้ยินก็ต้องฟังอย่างใจจดใจจ่อ เพราะมีเรื่องเล่าของชาวบ้านว่า ถ้าจับนกแขกเต้ามาฝึกให้ดี โตขึ้นก็ตัดลิ้นมันโดยเอาเงินรอง เอาทองขูดแล้วนกแขกเต้าจะพูดได้เหมือนกับคนพูดทุกอย่าง อ่านต่อ ...
46.การปฏิบัติธรรม

การปฎิบัติธรรมคืออะไร ทำได้อย่างไร คนในวัยไหนเหมาะที่จะปฏิบัติธรรม และผลจากการปฏิบัติธรรมจะเป็นอย่างไร คนที่ยุ่งอยู่กับการทำงานในชีวิตประจำวันเพื่อทำมาหาเลี้ยงครอบครัวจะปฏิบัติธรรมได้หรือไม่ ขอให้ตอบแบบง่ายๆ

คำว่า แบบง่ายๆมักจะได้ยินบ่อย เพราะเมื่อพูดถึงการปฏิบัติธรรมคนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นเรื่องยาก อ่านต่อ ...

47. ต้องสู้
นักร้องของไทยคนหนึ่งบ้านเกิดอยู่นครราชสีมา มีชื่อเป็นภาษาจีนว่า เจินเจิน นามสกุลเป็นภาษาถิ่นว่า บุญสูงเนิน ได้ร้องเพลงๆหนึ่งที่ดีทั้งสาระ เนื้อร้องและทำนอง เป็นเพลงที่โด่งดังไปทั่วประเทศ จำชื่อเพลงไม่ได้แล้ว แต่จำเนื้อร้องท่อนสั้นๆได้ว่า สามสิบลิขิตฟ้า เจ็ดสิบต้องฝ่าฟัน ต้องสู้ ต้องสู้ถึงจะชนะอ่านต่อ ...
48.ภาวนากับธรรมชาติ
คราวหนึ่งเมื่อพระราหุลได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้ทรงสอนวิธีการฝึกจิตหรือการเจริญภาวนาแก่พระราหุล โดยตรัสให้เจริญภาวนาหรือฝึกจิตให้มีสภาพเป็นเช่นกับธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาตอ่านต่อ ...
49.บุญกุศล
คนไทยได้ยินคำว่า บุญกุศล มาจนคุ้นหู แต่บางครั้งพอมานั่งสนทนากันเข้าจริงๆเพื่อทำความเข้าใจหรือขยายความให้กว้างออกไป ก็ทำให้งงเหมือนกันว่า คำสองคำนี้เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร เป็นเรื่องของความเชื่อหรือเรื่องของความจริง อ่านต่อ ...

50.กายกับใจ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การสนทนาธรรมตามกาลเวลาที่เหมาะสมเป็นมงคลอันสูงสุด ผู้ที่รักจะสร้างมงคลชีวิตให้แก่ตน ก็มักจะหาโอกาสสนทนาธรรมอย่างสม่ำเสมอ

คำถามที่พระสงฆ์มักจะถูกพุทธศาสนิกชนถามบ่อยๆก็คือ สมาธิคือ อะไร อ่านต่อ ...

51.สุขของคฤหัสถ์
พระพุทธเจ้า ในฐานะที่เป็นพระบรมครู คือเป็นครูชั้นเยี่ยม เวลาที่พระองค์จะทรงสั่งสอนประชาชน ไม่ว่าจะเป็นบุคคล เป็นกลุ่ม พระองค์จะทรงตรวจสอบความพร้อมของผู้ฟังเสียก่อนแล้วจึงเลือกสรรค์ธรรมะที่มีความเหมาะสมกับบุคคลนั้นๆมาสั่งสอน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะนำเอาธรรมะนั้นไปปฏิบัติได้จริงๆแล้วเกิดผลตามมาจริงๆ อ่านต่อ ...
52.กินเพื่ออยู่

กิจกรรมการรับประทานอาหารก็เป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่จัดให้เป็นกิจกรรมการรับประทานอาหารอย่างภาวนา (Mindful Eating) คือเป็นการับประทานด้วยสติปัญญา ไม่รับประทานด้วยสัญชาตญาณ

ข้อแตกต่างระหว่างสติปัญญา กับสัญญชาติญาณก็คือ อ่านต่อ ...

53.จงกรม

คำว่า จงกรม มีรากศัพท์จากภาษาบาลีว่า จังกะมะ แปลว่า การเดินไปเดินมา

เคยมีเด็กวัยรุ่นที่ไปฝึกภาวนา ซึ่งมีทั้งการเดิน ยืน นั่ง นอน ด้วยความรู้สึกตัวทั่วถึง ได้ตั้งคำถามตามประสาซื่อๆว่า การเดินไปเดินมา เหมือนคนหาของที่ตกหายไปนั้น อยากถามว่า การเดินจงกรมนี้เดินหาอะไรกันแน่ อ่านต่อ ...

54.จีวร

จีวรที่ท่านห่ม เป็นสัญญลักษณ์หรือสื่ออะไรบ้างไหม ”

คุณครูเลือกเอาสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดมาถาม นักเรียนทุกคนภายในห้องให้ความสนใจนั่งเงียบ เงี่ยหูรอฟังคำตอบอย่างใจจดใจจ่อ

ฉันตอบคุณครูไปว่า จีวร นั้นนอกจากจะใช้ห่มได้แล้ว ยังเป็นสัญญลักษณ์ที่สื่อให้ทราบทั้งกายภาพและธรรมภาพ อ่านต่อ ...

55.ทำแทนคำอ้อนวอน
พระพุทธเจ้าได้ ทรงทำหน้าที่เป็นครูผู้ชี้ทาง ส่วนการเดินทางเป็นหน้าที่ของ ผู้ที่ต้องการจะเดินทาง พระองค์จะไม่บังคับใครๆว่าจะต้องเดินตามทางที่พระองค์ได้ทรงชี้ไว้ ดังที่พระองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์เป็นผู้บอกทาง ส่วนความพากเพียรในการเดินทางไปสู่จุดหมายอันได้แก่ความสำเร็จ สงบสุข ร่มเย็น เป็นประโยชน์ทั้งตรเองและผู้อื่นเป็นสิ่งที่เธอทั้งหลายต้องลงมือกระทำ อ่านต่อ ...
56.ป่า
เวลาที่เราเดินทางไปทำธุระ หรือท่องเที่ยวที่ไหนๆ ถ้าได้พบป่าหรือสวนสาธารณะที่มีต้นไม้มากๆ จะรู้สึกได้ถึงความร่มรื่น สดชื่นแจ่มใส ป่าเป็นสัญญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ของแต่ละท้องที่ เพราะป่าเป็นที่รวมสิ่งมีค่าต่างๆมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่มนุษย์และสัตว์อย่างหาประมาณมิไดอ่านต่อ ...

57.รากแก้วชีวิต

สติปัฎฐาน นั้น แปลว่า การวางสติไว้ทุกแห่ง

วางสติไว้ที่ไหนบ้าง

  • วางไว้ที่กาย ซึ่งหมายถึงร่างกายที่มองเห็นสัมผัสจับต้องได้นี้แหละ ทุกครั้งที่กายเคลื่อนไหว ก็ระลึกถึงเสียก่อนว่าจะเคลื่อนไหวแล้วนะ หรือเมื่อเคลื่อนไหวก็รู้สึกว่ากำลังเคลื่อนไหวอยู่ ตรงนี้คนที่เข้าวัดบ่อยๆ ปฏิบัติภาวนามาบ้างจะเรียกว่า สติ ความระลึกได้ทำงานคู่กับ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
  • วางสติไว้ที่ความรู้สึก ซึ่งภาษาธรรมะเรียกกันว่าอ่านต่อ ...
58.วิเวก
ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แปลคำว่า วิเวก ว่า เดี่ยวอย่างวิเศษ นับเป็นการแปลที่ได้ความหมายสมบูรณ์ทั้งอรรถะ พยัญชนะและสภาวะธรรม ท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า ที่แปลว่า เดี่ยวอย่างวิเศษนั้นเพราะ ไม่มีอะไรมารบกวน สิ่งที่พิเศษสุดของชีวิต คือจิตที่ปลอดหรือปราศจากกิเลสใดๆมารบกวน อ่านต่อ ...
59.กลับมาหาเพื่อนแท้
อะเล็กซ์ เป็นนักฟังธรรมและนักภาวนาขาประจำที่กริฟฟิตพาร์ค ตอนที่มาพบชุมชนคนรักธรรมที่กริฟฟิตพาร์คนั้น หนุ่มอเมริกันทั้งสองเดินทางผ่านมาพักผ่อนในสวนสาธารณะเหมือนกับคนกับคนอื่นๆที่เดินเล่นทั่วๆไปเท่านั้น พอเห็นคนนั่งฟังธรรมกันอย่างสงบก็แอบมานั่งฟังอยู่ข้างหลังคนที่กำลังฟังธรรมอยู่ แม้ฟังภาษาไทยไม่ออกก็นั่งฟังด้วยอาการสงบจนจบ อ่านต่อ ...

60. 5 ปีที่วัดพุทธปัญญา
ฉันได้เดินทางมาลงเครื่องบินที่สนามบินออนตาริโอและเข้าสู่วัดพุทธปัญญาในตอนบ่ายๆ ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่วัดพุทธปัญญากำลังอยู่ในระหว่างการมีปัญหาครั้งใหญ่ วัดไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำ คนที่เคยมาทำบุญที่วัดก็เหลืออยู่ไม่กี่คน เพราะเมื่อวัดไหนก็ตามมีความขัดแย้งสูงประชาชนที่มาทำบุญก็มักจะหลบลี้หนีหายไปทันที เพราะทุกคนตระหนักเสมอว่า ไปวัดทำบุญต้องสบายใจ ไม่ควรไปขัดแย้งหรือไปทะเลาะกับใคร อ่านต่อ ...

61. 101 ปีหลวงพ่อพุทธทาส

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2550 ที่จะถึงนี้เป็นวันที่ หลวงพ่อพุทธทาสจะมีอายุครบ 101 ปี ผู้ที่ติดตามศึกษาการอธิบายขยายพุทธธรรมของท่านมาตลอดก็จะพากันรำลึกนึกถึงปฏิปทาและการมอบกายถวายชีวิตของท่านแก่พระพุทธเจ้าจนได้นามว่า พุทธทาสได้เป็นอย่างดี

ปีที่แล้ว เป็นปีที่หลวงพ่อพุทธทาสมีอายุ 100 ปี อ่านต่อ ...

62. ปฏิจจสมุปปบาท

อุบาสกท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า ขอความกรุณาท่านอาจารย์ช่วยอธิบายคำว่า อวิชชาอย่างง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันให้ฟังสักครั้ง เพื่อจะได้เป็นแสงสว่างส่องทางชีวิตต่อไป

ประธานลานธรรมขยับจีวร แถลงว่า คำว่า อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้

หากจะวิ่งเข้าสู่หัวใจพระพุทธศาสนากันตรงๆชนิดไม่อ้อมค้อมเลยก็จะหมายความถึง อ่านต่อ ...

พิธีลอยบาป

การลอยบาปเป็นพิธีกรรมชนิดหนึ่ง นิยมทำกันในสมัยพุทธกาล ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่า สมัยหนึ่ง พราหมณ์คนหนึ่ง นุ่งห่มผ้าไหมผืนใหม่ เข้าเฝ้าถวายบังคมพระพุทธเจ้าแต่เช้าตรู่ พระองค์ทรงปฏิสันถารว่า พราหมณ์ ท่านมีธุระอะไรแต่เช้า

พราหมณ์กราบทูลพระองค์ว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ พราหมณ์ทั้งหลาย แต่งตัวด้วยผ้าไหมผืนใหม่ถืออุโบสถและพากันลอยบาป อ่านต่อ ...

เบา
ผู้สนใจในธรรมหลายท่าน ให้ความสนใจ ในการศึกษาธรรมะและปฏิบัติภาวนา
มักจะถามเข้ามาบ่อยๆว่า วัดพุทธปัญญา จัดการสอนภาวนาเมื่อไรและอย่างไร อ่านต่อ ...

ทำบุญ
ในบรรดาการศึกษาและการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ชาวพุทธ มีความคุ้นเคยกับการ ทำบุญมากที่สุด และในบรรดาการทำบุญ ซึ่งมีอยู่ถึง 10 วิธี อ่านต่อ ...

มีสติ
บทธรรมบทแรกและบทธรรมบทสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ตั้งแต่เยาว์วัย พระพุทธเจ้าทรงใช้สติพิจารณาลมหายใจออกเข้า จนสงบนิ่งเป็นปฐมฌาน อ่านต่อ ...
กิเลส
สหายธรรมหลายท่านได้ ฝากถามปัญหาเข้ามาที่ลานธรรมวัดพุทธปัญญาว่า กิเลส คืออะไร อยากทราบความหมายและคำอธิบายชัดๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและ ปฏิบัติธรรมต่อไป อ่านต่อ ...

ธรรมสัญจร
เส้นทางธรรมสัญจร ตอนที่ 1
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 ฉันออกเดินทางเพื่อ ทำโครงการธรรมสัญจร 80โรงเรียน 80ปีธรรมราชา ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2550-28 กุมภาพันธ์ 2550 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ พระองค์ทรงมี พระชนมายุ ครบ 80 พรรษา อ่านต่อ ...
ภาวนาคลายเครียด
มิตรสหายหลายท่านที่ติดตามอ่านบทความที่อธิบายปฏิจจสมุปปบาท เป็นเรื่องๆ ได้มาเยี่ยมเยือนที่วัด และขอคำอธิบาย เรื่องภาวนา จะเกี่ยวข้องกับปฏิจจสมุปบาทที่เขียนไป หรือไม่ และหากเวลา ฝึกภาวนา แล้วรู้สึกเครียดเพราะเพ่งมากจะแก้ไขอย่างไร อ่านต่อ ...
อวิชา
บางคนเข้าใจว่าความทุกข์มาจากพระพรหมลิขิตมา สมบูรณ์แล้ว แก้ไขไม่ได้ ก็ปล่อยเลยตามเลย ส่วนคนที่เข้าใจว่า ดวงไม่ดี มีคนสถาปนาตัวเอง เป็นนักแก้ดวง เมื่อไม่รู้ความจริงก็ถูกต้มถูกตุ๋นกันไป แก้ดวงเท่าไรความทุกข์ก็มีอยู่เท่าเดิม นี้คือไม่รู้ว่าเหตุแห่งทุกข์เป็นอย่างไร ก็นับเป็น อวิชชา อีกประเภทหนึ่ง อ่านต่อ ...
สังขาร
สุภาพบุรุษท่านหนึ่ง มาทำบุญที่วัดพุทธปัญญาสองครั้งแล้ว ได้เล่าให้ฟังว่า รู้จักวัดพุทธปัญญา ด้วยการแนะนำของเพื่อนๆ ผู้ใฝ่ธรรมว่า หากต้องการศึกษาธรรมะชนิดที่เจ้าอาวาสมีเวลาให้เต็มร้อยแล้วละก็ไป
วัดพุทธปัญญาซิ เลยมาทดลองดู เมื่อมาแล้วก็ขอถามปัญหาธรรมะสักข้อว่า สังขาร แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไรครับ อ่านต่อ ...

© วัดพุทธปัญญา -แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา :: © Copyright 2008 Buddhapanya Temple