การชุมนุมที่ยังไม่จบ

การชุมนุมที่ยังไม่จบ

ทุกครั้งที่มีการชุมนุมทางการเมือง ประชาชนทั่วไปทั้งที่สนใจการเมืองและไม่สนใจการเมือง ต่างตั้งคำถามเสมอว่า การชุมนุมจะจบลงเมื่อไร สถานการณ์การเมืองหลังการชุมนุมผ่านไปแล้วจะเป็นอย่างไร

การชุมนุมใหญ่ทางการเมืองที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 มาจนถึงวันนี้ 11 ธันวาคม 2556 ยังหาวันจบไม่ลง และไม่มีใครทราบว่า หลังจากการชุมนุมผ่านไปแล้ว จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นตามมาบ้าง

สถานการณ์ทางการเมืองที่เร่าร้อนมาตลอดเวลาทำท่าว่าจะสงบลงด้วยร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันเฉลิมพระชนม์พรรษาที่ 5 ธันวาคม 2556

ก่อนถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2556 ใครๆ ก็คิดกันว่าทุกอย่างน่าจะจบลงก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2556     แต่สถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เมื่อทางฝ่าย

รัฐบาลประกาศจับแกนนำที่ชุมนุมทั้งหมดในคืนวันที่ 5 ธันวาคม 2556 วันเฉลิมพระชนม์พรรษายังไม่ทันจะผ่านพ้นไปเลย

รุ่งเช้าวันที่ 6 ธันวาคม 2556 แกนนำการชุมนุมเพื่อโค่นล้มระบบทักษิณก็ประกาศวันเผด็จศึกออกมาว่า วันที่ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 9.39 น. เป็นวันเผด็จศึกที่ไม่ต้องการให้ยืดเยื้ออีก     หากฝ่ายชุมนุมชนะก็จะตั้งสภาประชาชนและตั้งรัฐบาลขึ้นมาปฏิรูปประเทศไทย แต่หากฝ่ายชุมนุมพ่ายแพ้ แกนนำการชุมนุมโดยเฉพาะนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะเดินไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง จึงเชิญชวนให้คนที่สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองมาร่วมกันเดินขบวนเพื่อให้ทุกอย่างจบสิ้น ถ้าประชาชนมาชุมนุมกันมากแรงกด

ดันรัฐบาลก็จะมีมาก ถ้าประชาชนมาน้อย แรงกดดันรัฐบาลก็มีน้อยเอาชนะไม่ได้

เมื่อถึงวันนัดหมายคือ วันที่ 9 ธันวาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 7.00 น. เป็นต้นไป  ประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดได้มาเดินขบวนจากส่วนต่างๆ ของกรุงเทพ

มหานครไปสู่ทำเนียบ เพื่อทวงอำนาจอธิปไตยของปวงชนคืน

การชุมนุมคราวนี้สร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้นักข่าวต่างประเทศมาก แต่ละสำนักข่าวได้รายงานว่า มีผู้มาชุมนุมจำนวนไม่น้อยกว่าสองถึงสามล้านคน     สำนักข่าวใหญ่ระดับโลก คือ สำนักข่าว BBC ได้รายงานว่า มีผู้เข้าร่วมชุมนุมคราวนี้ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคนเวลาผ่านไปเพียงชั่วข้ามคืนสำนักข่าว BBCเจ้าเก่าได้เปลี่ยนตัวเลขผู้ชุมนุมเหลือเพียง หนึ่งแสนห้าหมื่นคน     ทำให้ผู้ที่เคยเชื่อถือการรายงานข่าวของสำนักข่าวระดับโลกแห่งนี้ต้องพากันหัวเราะดวยความตลกขบขันยิ่ง     ต่างตั้งคำถามว่า สำนักข่าวที่ได้รับความเชื่อถือในระดับโลกขนาดนี้ มีเสรีภาพในการรายงานข่าวจริงๆ หรือไม่ หรือว่า มีใครแทรกแซงได้เหมือนกัน หรือการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของการรายงานข่าวนับเป็นเสรีภาพอย่างหนึ่งของนักข่าว BBC ที่ได้รับความเชื่อถือระดับโลกแห่งนี้

อย่างไรก็ตาม คงไม่มีใครจะไปพิสูจน์ทราบกันว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 จะมีคนมาเดินขบวนจำนวนเท่าไรกันแน่     แต่ภาพการเดินขบวนจากแปดเก้าจุดบนถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คลื่นมหาชนมืดฟ้ามัวดินจริงๆ ภาพมวลมหาประชาชนที่มาชุมนุมนี้ได้รับการส่งต่อไปตามที่ต่างๆ อย่างมากมายทาง Social media ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นมวลมหาประชาชนจำนวนล้านจริงๆ

ยังมิทันที่ มวลมหาประชาชนจะเดินขบวนไปถึงทำเนียบรัฐบาล เวลาประมาณ 8.55 น.ของวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัด

สินว่า นโยบายที่รัฐบาลได้กระทำไปแล้วและจะกระทำ หรือกฎหมายนิรโทษกรรมที่พรรครัฐบาลพยายามจะออกมาและมีผู้ต่อต้านกันอย่างกว้างขวาง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็จะมาดำเนินการต่อ ถ้าไม่เห็นด้วยก็จบสิ้นกัน

การเลือกตั้งใหญ่ที่จะมาถึงนี้ถือว่า เป็นการคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชนและเป็นการทำประชามติตามระบบประชาธิปไตย

แต่ฝ่ายชุมนุมก็อ้างว่า เป็นการยุบสภาเพื่อให้ประชาชนที่มาชุมนุมกลับบ้านไปเท่านั้น รัฐบาลยังรักษาการอยู่ รัฐบาลย่อมได้เปรียบในการเลือกตั้ง และเชื่อว่า หากยอมรับการเลือกตั้งแบบเก่าปัญหาเดิมๆ จะไม่ได้รับการแก้ไข     การปฏิรูปประเทศไทยโดยนักการเมืองน้ำเน่าที่เฝ้าตักตวงผลประโยชน์เพื่อตนและพรรคพวกเพื่อนพ้องจะมีขึ้นไม่ได้

การเลือกตั้งเป็นเพียงพิธีกรรมที่จะยืนยันการยกประเทศไทยให้ระบบทักษิณมากอบโกยผลประโยชน์เพื่อพรรคและพวกพ้องอย่างชอบธรรมต่อไป      เพราะเลือกตั้งคราวใด พรรคการเมืองของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ก็ชนะตลอดเวลา  เพราะ ใช้เงินซื้อทั้งผู้สมัคร ซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ยอมขายสิทธิ์ขายเสียงและซื้อสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎร แล้วก็กลับมาทำนโยบายและออกกฎหมายกินรวบประเทศไทยต่อไป

ด้วยความวิตกกังวลของแกนนำดังกล่าว จึงชวนประชาชนเดินขบวนต่อจนมาถึงทำเนียบรัฐบาล     แต่ผู้ชุมนุมไม่ได้เข้าไปยึดทำเนียบ หรือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินทางราชการแต่อย่างใด แกนนำการชุมนุมยังเน้นย้ำการชุมนุมโดยสันติ ให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแล มือที่สามที่จะแปลกปลอมเข้ามาใช้ความรุนแรง เป็นการทำให้การต่อสู้แบบสันติอหิงสาเสียหายไป

การชุมนุมใหญ่ที่มีประชาชนนับล้านในวันนั้น เป็นการชุมนุมแบบอหิงสาและสันติ ไม่มีการใช้ความรุนแรงจริงๆ ไม่มีข่าวการฆ่า การทำร้าย หรือ เผาสถานที่ราชการแต่อย่างใด นับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์การต่อสู้แบบอหิงสาที่ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึกไว้จริงๆ

เมื่อประชาชนเดินทางมาชุมนุมมืดฟ้ามัวดินเช่นนี้ ต่างตั้งคำถามกันว่า ชัยชนะของประชาชนอยู่ตรงไหน และแกนนำการชุมนุมจะทำอะไรต่อไป    ต่อคำถามดังกล่าว นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ชุมนุมได้ประกาศให้ทราบว่า นายกรัฐมนตรียุบสภาไม่เพียงพอ ต้องลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการเพื่อให้เกิดสูญญากาศทางการเมืองแล้วจะได้สรรหานายกรัฐมนตรีที่ประชาชนยอมรับกันทั่วประเทศและตั้งสภาประชานเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ด้วยการแก้ไขกฎกติกาต่างๆ เสียใหม่ โดยให้เวลานายกรัฐมนตรีตัดสินใจ 24 ชั่วโมง

เวลาผ่านไปตามกำหนด รักษการนายกรัฐมนตรีและรักษาการคณะรัฐมนตรีก็ไม่ยอมลาออก โดยให้เหตุผลว่าผิดกฎหมาย ต้องอยู่ไปจนกว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ามารับหน้าที่หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว

แต่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำการชุมนุมก็ยังไม่ยอมยุติการชุมนุม ยังยืนยัน  ว่า การชุมนุมจะยุติก็ต่อเมื่อ นายกรัฐมนตรีลาออก รัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสภาพตามไปด้วย แล้วให้วุฒิสภาเสนอนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามช่องทางของรัฐธรรมนูญที่พอจะมีอยู่     จากนั้นก็ตั้งสภาประชาชนที่จะสรรหาประชาชนมาจากทุกสาขาอาชีพเพื่อช่วยกันปฏิรูปประเทศไทย แล้วต่างคนต่างกลับบ้านไป ตนเองไม่ขอเข้ามาเล่นการเมืองหรือลงเลือกตั้งอีกเพราะได้ทำงานรับใช้ชาติตามเจตนารมณ์แล้ว

ก่อนหน้านี้ผู้ติดตามการเมืองต่างพูดกันว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นโรคไหล คือ นำการชุมนุมให้ไหลเรื่อยไปอย่างไร้จุดหมายปลายทาง ไม่รู้ว่าจะเอาอะไร  จุดประสงค์อยู่ที่ไหน      แต่ตอนนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้ให้คำตอบแล้วว่า เมื่อได้ดำเนินการตามเงื่อนไขดังกล่าวสำเร็จแล้ว ก็จะยุติการชุมนุม กลับบ้านทันที

เนื่องจากประเทศไทยคุ้นเคยกันมากับการทำรัฐประหารที่ทหารนำเอารถถังและอาวุธยุทโธปกรณ์มายึดสถานที่สำคัญ หรือ จับตัวนายกรัฐมนตรีควบคุมไว้ แล้วออกประกาศคณะปฏิวัติ ยุบสภา ปลดคณะรัฐบาลออกจากตำแหน่ง และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นทันที การทำรัฐประหารของทหารจึงไม่ยืดเยื้อจบลงโดยเร็ว

เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้แล้ว กลายเป็นองค์อธิปัตย์ คือ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศในขณะนั้น เมื่อเรียกข้าราชการระดับสูงในหน่วยงานต่างๆเช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือ ตำแหน่งอื่นๆ ที่เป็นผู้บริหารงานหลักๆ มารายงานตัว

บุคลาการเหล่านั้นจะรีบมารายงานตัวแล้วปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรัฐประหารทันที

แต่ประเทศไทยยังไม่เคยมีการปฏิวัติโดยประชาชนจำนวนล้านมาก่อน      ขณะนี้ กปปส พยายามที่จะสถาปนาตนเองเป็นองค์อธิปัตย์ พยายามออกคำสั่งให้รัฐบาลลาออก ออกคำสั่งให้ผู้บริหารของข้าราชการระดับสูงมารายงานตัว      เวลาผ่านไปหนึ่งวัน รัฐบาลก็ไม่ยอมลาออก ข้าราชการระดับสูงก็ไม่มารายงานตัว นายกรัฐมนตรีก็ยังประชุมคณะรัฐมนตรีตามปกติ

เวลาผ่านไปสองวันแล้ว คำสั่งของกปปส ล่องลอยไปตามสายลมโดยไม่ได้รับการสนองตอบจากหน่วยราชการแต่อย่างใด เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า กลไกของรัฐไม่ยอมรับการปฏิวัติของประชาชนครั้งนี้      เพราะคำสั่งเหล่านี้ยังไม่มีกฏหมายรองรับและคณะกรรมการ กปปส ก็มิใช่องค์อธิปัตย์

คณะกรรมการกปปส ได้เรียกลุ่มของตนว่า เป็นกลุ่มประชาภิวัตน์ คือกลุ่มที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศโดยประชาชน      ไม่มีหน่วยราชการใดเลยที่ตอบรับการทำประชาภิวัตน์ในครั้งนี้ ทุกคนยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพราะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายและยังบริหาราชการแผ่นดินต่อไปได้ จึงไม่ต้องลาออกแต่ประการใด

รายงานล่าสุดก่อนที่จะปิดบทความชิ้นนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยเรียกร้องให้นางสาวยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรีลาออก และวันพรุ่งนี้จะเดินทางไปขอพบ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เพื่อขอคำยืนยันว่าจะอยู่ฝ่ายผู้ชุมนุมหรือจะอยู่ฝ่ายรัฐบาลรักษาการ

การสนทนายังไม่เกิดขึ้น ไม่ทราบว่าทหารจะให้ความร่วมมือหรือไม่แค่ไหน ต้องติดตามกันต่อไป

อย่างไรก็ตาม ลองสมมติเหตุการณ์เล่นๆ ว่า หลังจากสนทนากันแล้ว นายสุเทพสามารถกล่อมทหารทั้งสามเหล่าทัพให้คล้อยตามได้ แล้วตกปากรับคำว่า จะรับฟังคำสั่งของนายสุเทพ คนเดียว การประชาภิวัตน์ของประชาชนก็จะสำเร็จทันที เพราะภารกิจการรักษาความมั่นคงทั่วประเทศ ทหารได้รับไปแล้ว ประชาชนที่ต้องตรึงกำลังป้องกันแกนนำอยู่ก็หมดภารกิจไประดับหนึ่ง วี่แววของการยุติการชุมนุมมีได้      แต่มีปัญหาว่า หากทหารไปฟังคำสั่งนายสุเทพ  นางสาวยิ่งลักษณ์ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหมจะทำอย่างไรต่อไป เพราะยังมีอำนาจตามกฎหมาย เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาที่จะต้องคิดอีก

ในกรณีที่ผู้นำเหล่าทัพ ปฏิเสธที่จะยืนข้างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และยืนยันจะยืนเคียงข้างรัฐบาล ผู้ชุมนุมจะทำอย่างไรกันต่อไป

นายสุเทพอาจจะกลับมาสั่งยุติการชุมนุม  ประกาศความพ่ายแพ้และเข้ามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองตามข้อหากบฏและข้อหาต่างๆ อีกหลายข้อหาที่ทางศาลได้ออกหมายจับไว้ ปัญหานี้ก็ยากที่จะเดาคำตอบ      เพราะนายสุเทพ ประกาศเสมอๆ ว่า เขามิได้เกณฑ์ประชาชนมาชุมนุมกับเขา แต่ประชาชนมอบให้เขานำการชุมนุม เขาไม่เคยล้างสมองหรือปลุกระดมประชาชน  แต่ประชาชนเป็นผู้ปลุกระดมและล้างสมองเขาเอง เขาต้องปฏิบัติการทุกอย่างๆ เปิดเผยและตามมติมวลมหาประชาชน

หากพิจารณากันตามข้อมูลและเหตุการณ์ที่พอจะประมวลได้ในขณะนี้ ก็พอจะหาคำตอบคำถามที่ว่า การชุมนุมจะยุติเมื่อไรได้บ้างแล้ว

คำตอบคือ เมื่อประชาชนผู้มาชุมนุมมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรยุติได้แล้ว และไม่กลับมาชุมนุมอีก เพราะนายสุเทพย้ำเสมอว่า ตนเองเป็นผู้ทำตามคำสั่งของมวลมหาประชาชนเท่านั้น      ส่วนเจตนารมณ์การขับเคลื่อนการชุมนุมเป็นเรื่องของมวลมหาประชาชนเท่านั้น นายสุเทพได้มอบความเป็นใหญ่ให้ประชาชนผู้ร่วมชุมนุม

เหตุการณ์ทางการเมืองในสัปดาห์ต่อไปจะเป็นอย่างไร ขอให้ท่านผู้อ่านติดตามไปพร้อมๆ กัน แล้วจะมาสรุปให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง       ตอนนี้กรุณาติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดชนิดไม่กระพริบตา อย่างไรก็ตาม ต้องขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้ทุกฝ่ายทุกคนในแผ่นดินไทยอย่าใช้ความรุนแรงเข้าทำลายล้างกัน แต่จงใช้สติปัญญาระดมกันมาแก้ปัญ

หาของชาติ แล้วเราก็จะพบทางออกที่ปลอดภัย  อนาคตอของประเทศต้องสดใส ประชาชนต้องมีความสุข ขอความสงบสุขจงปรากฎขึ้นแก่ประเทศไทยที่รักของฉันโดยพลันเทอญ

11 ธันวาคม 2556

เวลา 9.39 น.

วัดพุทธปัญญา เมืองโพโมน่า มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

ดร.พระมหาจรรยา  สุทธิญาโณ

เจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญาและวัดลอยฟ้า

www.buddhapanya.org & www.skytemple.org